วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554

ข่าวสั้นทันภัยรายวัน




08/03 แม่น้ำวังจ.ตากแห้งขอด-ชาวบ้านพลิกวิกฤติเป็นโอกาสจับปลาขาย สร้างรายได้


สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดตาก เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะแม่น้ำวัง ที่หล่อเลี้ยงประชาชนใน อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก ขณะนี้น้ำแห้งขอด จนบางจุดสามารถเดินข้ามไปมาได้ ส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก แต่มีชาวบ้านส่วนหนึ่งได้พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสจับปลาในแม่น้ำวัง แล้วนำมาวางขาย สร้างรายได้วันละหลายร้อยบาทต่อคน ทั้งนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) ทั้ง 9 อำเภอ โดยให้ประชาชนแต่ละหมู่บ้าน-ชุมชน สร้างฝายชะลอน้ำ-ฝายน้ำล้น เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ฤดูแล้ง โดยอำเภอที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากที่สุดคือ อ.เมือง- อ.สามเงา- และ อ.บ้านตาก




8/03 ปตท.-บางจากขึ้นราคาน้ำมัน 9 มี.ค. ดีเซลราคาเดิม

ปตท.-บางจากปรับขึ้นราคาขายปลีกน้ำมัน E85 30 ส.ต./ลิตร กลุ่มเบนซิน 50 ส.ต./ลิตร (ดีเซลคงเดิม) มีผล 9 มีนาคม ตั้งแต่เวลา 05.00 น. เป็นต้นไป ราคาเป็นดังนี้ E85: 22.32บาท/ลิตร E20: 34.44 บาท/ลิตร แก๊สโซฮอล์ 91: 35.34 บาทต่อลิตร เบนซิน 91: 42.54 บาท/ลิตร B5: 29.99 บาท/ลิตร ดีเซลหมุนเร็ว 29.99 บาท/ลิตร



08/03 หมอกควัน ปกคลุม จ.น่าน เริ่มกระทบการขึ้นลงของเครื่องบิน


นางนวพร มีวาสนา ผู้อำนวยการท่าอากาศยานน่าน กล่าวว่า หลังจากที่ได้เกิดหมอกควันจากไฟป่า แผ่ปกคลุมเกือบทั่วทั้งจังหวัดน่าน เริ่มส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยการขึ้นลงของเครื่องบินแล้ว ทางท่าอากาศยานได้ประสานกับสายการบินทั้ง 3 แห่ง เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์หมอกควันไฟป่า ในช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคม เป็นต้นไป ซึ่งทางสายการบิน ก็ได้มีการปรับเวลาการบินให้ขยายออกไป ซึ่งแต่ก่อน เคยบินขึ้นลงตอนเช้า จะเปลี่ยนมาลงช่วงสาย ตั้งแต่เวลา 11 นาฬิกาเป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่หมอกควันไฟป่าเบาบางลง  อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีปัญหาการขึ้นลงของเครื่องบินหลังการปรับเวลา แต่ถึงแม้ว่าจะมีหมอกควันไฟ แต่ทางสนามบินก็มีเครื่องมืออุปกรณ์มาตรฐานสากล หรือสัญญาณนำร่องบอกพิกัด ตำแหน่งนักบินสามารถนำเครื่องบินขึ้นลงได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งตามปกติแล้ว เครื่องจะบินขึ้นลงได้ ต้องมีทัศนวิสัยมองเห็นได้ตั้งแต่ 1,500 เมตรขึ้นไป




8/03 นครศรีฯวางแผนป้องกันไฟไหม้ป่าพรุควนเคร็ง

สำหรับปัญหาไฟไหม้ป่า บริเวณป่าพรุควนเคร็ง ใน จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อ 5 อำเภอ ในปีนี้นั้น นายศรัณย์ ใจสะอาด ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขณะนี้ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วย เช่น ฝ่ายองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น กองกำลังทหารอาสาสมัคร ตลอดจนเจ้าหน้าที่สำนักงานป่าไม้ จ.นครศรีธรรมราช วางแผนรับมือมาตรการไฟไหม้ป่า ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในช่วงหน้าแล้ง โดยเฉพาะที่บริเวณป่าพรุควนเคร็ง ที่ครอบคลุมพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ ชะอวด หัวไทร เฉลิมพระเกียรติ เชียรใหญ่ และ ร่อนพิบูลย์ ที่มีพื้นที่กว่า 350,000 ไร่ ได้วาง 3 มาตรการหลัก มาตรการเร่งด่วน วางกำลังเจ้าหน้าที่ผลัดเปลี่ยนออกลาดตระเวน ปฏิบัติการเดินทางเข้าออกของประชาชน และนายทุนในกลุ่มที่อาจจะนำไปสู่การเกิดไฟป่า และมาตรการระยะกลาง คือ การขุดบ่อน้ำในจุดที่มักเกิดไฟไหม้ เพื่อให้มีจำนวนแหล่งน้ำที่เพียงพอ ในการควบคุมดับไฟป่า ไม่ให้เกิดลุกลามเป็นวงกว้าง กรณีที่เกิดขึ้นและมาตรการระยะยาว ได้จัดให้มีร่างข้อกำหนดเพื่อจัดวางระบบน้ำ โดยเน้นการจัดระบบน้ำในป่า โดยเฉพาะปริมาณน้ำใต้ดินให้มีความคงที่ โดยเฉพาะในช่วงหน้าแล้ง เชื่อว่า สามารถแก้ไขปัญหาไฟป่าได้เต็มรูปแบบ


8/03 แม่น้ำวัง อ.สามเงา และ อ.บ้านตากเดือดร้อนหนัก

สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดตาก เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะแม่น้ำวัง ที่เป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงประชาชนและเกษตรกรใน อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก ขณะนี้น้ำแห้งจนบางจุด คนสามารถเดินข้ามไปมาได้ ส่งผลให้เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยไข่ มะละกอ ฝรั่ง และข้าวโพด ต่างได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ไม่มีน้ำพอที่จะรดผลผลิต
อย่างไรก็ตาม ได้มีชาวบ้านส่วนหนึ่งได้พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสจากการทำการเกษตรไม่ได้ โดยชักชวนพากันแห่ลงจับปลาในแม่น้ำวัง ซึ่งมีทั้งปลากด ปลาเนื้ออ่อน ปลานิล และปลาสวาย โดยแต่ละคนสามารถจับได้ คนละหลายสิบกิโล แล้วนำมาวางขายริมถนนหลวง มีประชาชนขับขี่รถผ่านไปมาหาซื้อกัน สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่กำลังประสบภัยแล้ง ได้วันละหลายร้อยบาทต่อคน ซึ่งประชาชนที่สัญจรผ่านไปมา บริเวณเส้นทางหลวง ก็แวะซื้อปลาแม่น้ำวังแทบทั้งสิ้น ซึ่งถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ที่ราษฎรสามารถจับปลาแม่น้ำวังมาขายได้ แต่ก็ยังดีที่ชาวบ้านได้มีรายได้มาจุนเจือครอบครัว

รายงานข่าวแจ้งว่า นายสามารถ ลอยฟ้า ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ได้ประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ (ภัยแล้ง) ทั้ง 9 อำเภอ และเร่งสนับสนุนงบประมาณโดยการกระจายไปทั่วทุกพื้นที่ ที่ประสบภัยแล้ง โดยให้ประชาชนแต่ละหมู่บ้าน-ชุมชน สร้างฝายชะลอน้ำ-ฝายน้ำล้น เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ฤดูแล้ง ที่คาดว่าจะยาวนาน โดยอำเภอที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากที่สุดคือ อ.เมือง- อ.สามเงา- และ อ.บ้านตาก 



8/03 ชาวนาพิจิต​รร้องถูกแย่​งน้ำทำนา

นายค้ำ แจ้งคล้าย อายุ 54 ปี อยู่บ้านเลขที่ 7 หมู่ 12 บ้านหนองหัวปลวก ต.ไผ่ลอบ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร ร้องทุกข์ถึงปัญหาของชาวนาที่ทำนาปรัง แต่ต้องเปิดศึกแย่งน้ำกันแบบรายวัน เหตุเป็นเพราะขาดหน่วยงานของรัฐ ที่จะเข้ามาดูแล และแก้ไขปัญหา
โดยนายค้ำ ร้องทุกข์ว่าตนเองทำนาปรังบนพื้นที่ 20 ไร่ เคยได้อาศัยน้ำจากคลองบ่อทราย ซึ่งรับน้ำที่ผันมาจากคลองท่อทองแดง ที่ส่งน้ำมาจากแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร มาให้ชาวนาพิจิตร ซึ่งขณะนี้มีน้ำใสไหลแรงจ่ายมาในลำคลอง แต่ปรากฏว่า ชาวนาที่อยู่ต้นคลองและเป็นถึงผู้นำท้องถิ่นกับเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวไปทำฝายเถื่อนกันขึ้นเองขวางลำน้ำไว้ เพื่อสูบน้ำเข้านาแบบมือใครยาวสาวได้สาวเอา ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง และเพื่อนชาวนาในหมู่ 12 บ้านหนองหัวปลวก ต.ไผ่ลอบ อ.โพธิ์ประทับช้าง จ.พิจิตร พื้นที่หลายร้อยไร่ นาข้าวขาดน้ำจึงอยากวิงวอนขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร หรือ นายอำเภอโพธิ์ประทับช้าง ช่วยลงพื้นที่ สั่งการแก้ไขช่วยเหลือชาวนาด้วย ก่อนจะมีปากเสียงหรือก่อการทะเลาะวิวาท ในหมู่ชาวนา ด้วยกัน



8/03 ไฟไหม้ป่าพรุ จ.นราธิวาสขยายวงกว้างต่อเนื่อง

เจ้าหน้าที่ยังคงช่วยกันดับไฟที่ลุกไหม้บริเวณป่าพรุบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส พร้อมกับขอกำลังทหารหน่วยนาวิกโยธินเข้าเสริม หลังไฟที่ลุกไหม้ได้ขยายพื้นที่ไปยัง 3 อำเภอแล้ว คืออำเภอเมือง อำเภอยี่งอ และอำเภอบาเจาะ มีพื้นที่เสียหายไปแล้วกว่า 600 ไร่
 เจ้าหน้าที่ชุดดับไฟป่าเปิดเผยว่า ปัญหาในการดับไฟในปัจจุบัน คือบริเวณชั้นใต้ดินที่เป็นวัชพืช ประกอบกับเข้าช่วงหน้าแล้ง ทำให้หไฟลุกไหม้อยู่ในชั้นใต้ดิน การดับไฟจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก
นอกจากนี้ สภาพอากาศที่มีลมแรงตลอดเวลายังทำให้เปลวไฟลุกขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพื้นที่เกษตรทั้งสวนปาล์ม และสวนยางพาราของชาวบ้านเสียหายไปกว่า 400 ไร่
 นายประดิษฐ์ ปิ่นกระจาย ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานจังหวัดนราธิวาส กล่าวว่า ในปัจจุบันเจ้าหน้าที่ทำได้เพียงควบคุมไฟไม่ให้ขยายวงกว้างมากขึ้น ขณะที่การสกัดไฟทำได้ยากลำบากเนื่องจากเป็นพื้นที่กว้าง รวมทั้งยังขาดแหล่งน้ำที่ต้องใช้ระบายลงไปดับไฟในชั้นใต้ดิน โดยสำนักงานชลประทานจังหวัดนราธิวาส กำลังประสานไฟยังสำนักงานชลประทานจังหวัดสงขลา เพื่อนำเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ และรถขุดเจาะหาแหล่งน้ำ เพื่อสูบน้ำเข้าไปในพื้นที่ที่ถูกไฟไหม้




8/03 กรมทรัพย์ฯเตรียมงบประมาณกว่า 4,000 ล้านบาท ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ



กรมทรัพยากรน้ำ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมพร้อมรับมือภัยแล้ง สั่งการให้สำนักงานทรัพยากรน้ำภาพ 1 ถึง 10 จัดตั้งศูนย์ประสานงานติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและจัดสรรน้ำสะอาดบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 36 จังหวัด


นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า การฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาตินั้นจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำได้มากขึ้น ช่วยให้มีน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นกว่า 77 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะต้องให้งบประมาณทั้งสิ้นกว่า 4,000 ล้านบาท ทั้งนี้ได้เริ่มโครงการฟื้นฟูแหล่งน้ำห้วยไม้เต็ง จังหวัดราชบุรี  โดยสร้างท่อผันน้ำส่วนเกินจากอ่างเก็บน้ำห้วยมะหาดเข้าไป ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำได้กว่า 2 ถึง 5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ทำให้เกษตรมีน้ำใช้ได้อย่างพอเพียง ซึ่งจะกระจายโครงการสู่พื้นที่อื่นทั่วประเทศ ทั้งนี้มั่นใจว่าหากโครงการดังกล่าวสำเร็จจะช่วยบรรเทาปัญหาคลาดแคลนน้ำในหน้าแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ที่มา  
http://www.paipibut.org/catalog.php?catalogid=2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น