สึนามินอกจากนี้แล้ว สึนามิ ยังเกิดได้จากการเกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเล หรือใกล้ฝั่งที่ทำให้มวลของดินและหิน ไปเคลื่อนย้ายแทนที่มวลน้ำทะเล หรือภูเขาไฟระเบิดใกล้ทะเล ส่งผลให้เกิดการโยนสาดดินหินลงน้ำ จนเกิดเป็นคลื่น สึนามิ ได้ ดังเช่น การระเบิดของภูเขาไฟ คระคะตัว ในปี ค.ศ. ๑๘๘๓ ซึ่งส่งคลื่น สึนามิ ออกไปทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในเอเชีย มีจำนวนผู้ตายถึงประมาณ ๓๖,๐๐๐ ชีวิต | ||
|
พายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อนเป็นคำที่ใช้เรียกพายุหมุนหรือไซโคลนที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบเส้นรุ้งต่ำใกล้เขตศูนย์สูตร มีการหมุนเวียนของลมพัดเวียนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือและพัดเวียนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้พายุหมุนเขตร้อนเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีอนุภาพรุนแรงและมีผลกระทบต่อลักษณะอากาศในเขตร้อน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย เช่น ทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม และเกิดคลื่นสูงในทะเล พายุหมุนเขตร้อนนี้เมื่อมีกำลังแรงสูงสุดมีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามแหล่งกำเนิด เช่น พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า “ไซโคลน” เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริเบียน อ่าวเมกซิโกและทางด้านตะวันตกของแม็กซิโกเรียกว่า “ไต้ฝุ่น” และเกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่า”วิลลี่-วิลลี่”
พายุหมนเขตร้อนทีมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกและทะเลจีนใต้ มีการแบ่งเกณฑ์ความรุนแรงของพายุตามข้อตกลงระหว่างประเทศโดยใช้ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุกำหนดมีดังนี้
พายุดีเปรสชั่น : มีความเร็วลมไม่เกิน ๓๓ นอต (๖๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
พายุโซนร้อน : มีความเร็วลม ๓๔-๖๓ นอต (๖๒-๑๑๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ไต้ฝุ่น : มีความเร็วลม ๖๔ นอต (๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างบริเวณแหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อนสองด้าน ด้านตะวันออกคือมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ส่วนด้านตะวันตกคืออ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน โดยพายุมีโอกาสเคลื่อนจากมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้เข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกมากกว่าทางด้านตกวันตก ปกติประเทศไทยจะมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามาได้โดยเฉลี่ยประมาณ ๓-๔ครั้งต่อปี บริเวณที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านเข้ามามากที่สุดคือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ซึ่งในระยะต้นปีระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมเป็นช่วงที่ประเทศไทยปลอดจากอิทธิพลของพายุ จนถึงเดือนเมษายนนับเป็นเดือนแรกของปีที่พายุเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคใต้ได้ แต่ก็มีโอกาสน้อยและเคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบ ๕๑ ปี ผ(พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๔) ซึ่งพายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมและโดยส่วนใหญ่เป็นพายุที่เคลื่อนมาจากด้านตะวันตกเข้าสู่ประเทศไทยทางตอนบน และตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไปพายุส่วนใหญ่จะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก โดยช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมพายุยังคงเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ซึ่งบริเวณตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านเข้ามามากที่สุด และเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมพายุมีโอกาสเคลื่อนเข้ามาได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตั้งแต่เดือนกันยายน ในสองเดือนนี้เป็นระยะที่พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยได้มาก โดยเฉพาะเดือนตุลาคมมีสถิติเคลื่อนเข้ามามากที่สุดในรอบปี สำหรับช่วงปลายปีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนพายุจะเคลื่อนเข้าสู่ปะเทศไทยตอนบนน้อยลงและมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้มากขึ้น เมื่อถึงเดือนธันวาคมพายุมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้เท่านั้น โดยไม่มีพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอยบนอีก
พายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชั่น เพราะพื้นดินและเทือกเขาของประเทศเมียนมาร์ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ที่ล้อมรอบประเทศไทยตอนบนเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความรุนแรงของพายุก่อนที่จะเคลื่อนมาถึงประเทศไทย ดังนั้นความเสียหายที่เกิดจากลมแรงจึงน้อยกว่าภาคใต้ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นพื้นที่สู่ทะเล พายุที่เคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทยและขึ้นฝั่งภาคใต้ขณะมีกำลังแรงขนาดพายุโซนร้อนหรือไต้ฝุ่นจะมีผลกระทบเป็นอย่างมากจากคลื่นพายุซัดฝั่ง ลมพัดแรงจัด และฝนตกหนักถึงหนักมากจนเกิดอุทกภัย รวมทั้งคลื่อลมแรงในอ่าวไทย ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้น ๓ ครั้งในอดีย ได้แก่พายุโซนร้อน “แฮเรียด” ที่เคลื่อนเข้าสู่แหลมตะลุมพุกจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ ๒๕-๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕o๕ พายุไต้ฝุ่น “เกย์” ที่เคลื่อนเข้าสู่จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๒ และพายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ที่เคลื่อนเข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันต์ขณะมีกำลังเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔o
อุทกภัยกรณีเกิดน้ำท่วมใหญ่ในเขตชุมชน หรือท่วมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรแล้วทำให้ทรัพย์สินและพืชผลจำนวนมาก ตลอดจนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้รับความเสียหาย เราเรียกว่า “อุทกภัย” เช่น อุทกภัยเนื่องจากน้ำป่าไหลหลากจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ที่บ้านน้ำก้อ-บ้านน้ำชุน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และอุทกภัย เนื่องจากน้ำท่วมใหญ่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างและที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งได้ทำความเสียหายอย่างมากมายมาแล้วหลายครั้งในอดีต
สาเหตุของการเกิดน้ำท่วมและอุทกภัยเนื่องจากความวิปริตผันแปรของธรรมชาติ และบางท้องที่การกระทำของมนุษย์ก็มีส่วนสำคัญทำให้ภาวะการเกิดอุทกภัยมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
โดยธรรมชาติ ได้แก่การเกิดฝนตกหนักจนทำให้เกิดอุทกภัย ส่วนใหญ่เป็นฝนอันเกิดจากอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อน
ลักษณธและส่วนประกอบตามธรรมชาติของพื้นที่ลุ่มน้ำ มีขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำ ความลาดชัน ชนิดของดิน สภาพพืชต่างๆ
น้ำทะเลหนุน
โดยการกระทำของมนุษย์ ได้แก่การบุกรุกแผ้วถางป่าในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ
การใช้ที่ดินโดยไม่มีการควบคุม การทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ การขยายตัวของชุมชนจนทำลายแก้มลิงธรรมชาติ
การก่อสร้างบ้านเรือน ถนน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ กีดขวางทางน้ำไหล
แม่น้ำลำธารมีสภาพตื้นเขินหรือถูกบุกรุก
แผ่นดินทรุด เนื่องจากมีการสูบน้ำบาดาลไปใช้เกินสมดุลย์ จนแผ่นดินมีการทรุดตัวลงเป็นบริเวณกว้าง
อุทกภัยในอดียที่ทำความเสียหายให้อย่างรุกแรงได้มีการบัยทึกในระยะ ๑o ปีเศษที่ผ่านมามี ดังนี้ พ.ศ.๒๕๓๘ พายุดีเปรสชั่นพัดเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณภาคเหนือหลายลูก ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมรุนแรงทั่วประเทศจากภาคกลางตอนบนถึงภาคกลางตอนล่าง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตกจังหวัดนครศวรรค์ถึงกรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบ พื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนบ้านเรือน ถูกน้ำท่วมรุนแรงนานหลายเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหาครและปริมณฑลอยู่ในอิทธิพลน้ำทะเลหนุนซ้ำเติม ถูกน้ำท่วมหนักที่สุด หลังจากปีน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.๒๔๘๕ ทีเดียว
แผ่นดินไหว
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีตที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตนับแสนคนในประเทศที่อยู่ในเจตแผ่นดินไหว เช่น จีนและญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ได้เกิดความเสียหายรุนแรงต่ออาคารบ้านเรือน ทางด่วน และระบบสาธารณูปโภคมากกว่าที่คาดไว้ แม่ว่าได้ออกแบบก่อสร้างให้เผื่อรับแรงแผ่นดินไหวตามที่กฏหมายบังคับไว้แล้วก็ตาม
ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ได้อยู่ในบริเวณแผ่นดินไหวใหญ่ของโลก แต่จากการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายครั้งที่มีศูนย์กลางทั้งในและนอกประเทศ จะเห็นได้ส่าบางครั้งสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนที่รู้สึกได้โดยทั่วไปและก่อให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่ออาคาร เช่น แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ ขนาดความแรง ๕.๖ ริคเตอร์ ที่จังหวัดตาก , เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๒๖ ขนาดความแรง ๕.๙ ริคเตอร์ ที่จังหวัดกาญจนบุรี และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๗ ขนาดความรุนแรง ๕.๑ ริคเตอร์ ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งทำให้อาคารโรงพยาบาลพาน ที่อ.พาน เสียหายค่อนข้างหนักถึงขั้นระงับการใช้อาคาร สำหรับโรงเรียนและวัดหลายแห่งเสียหายเล็กน้อยจนถึงปานกลาง
ปัจจุบันประเทศไทยมีการก่อสร้างอาคารสูงและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มากมาย ตลอดจนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มของจำนวนประชากรของประเทศอย่างรวดเร็ว มำให้ประเทศไทยมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภัยจากแผ่นดินไหวสูงขึ้น ดังนั้น การศึกษาสถิติข้อมูลแผ่นดินไหวและการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ที่คาดว่าจะเป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหวได้
นอกจากนั้น การศึกษาความรุนแรงของแผ่นดินไหวในอดีต จะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนที่แบ่งเขตแผ่นดินไหว และแผนที่นี้จะเป้นตัวกำหนดค่าความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ สำหรับที่จะนำไปใช้ในการออกกฏกระทรวงว่าด้วยแรงแผ่นดินไหว เพื่อควบคุมการก่อสร้างต่างๆให้สามารถต้านทานแรงแผนดินไหวได้อย่างเหมาะสม
ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในอดีตที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นบทเรียนสำคัญในการวางแผนป้องกันและบรรเทาภัยผ่นดินไหวในอนาคต กล่าวได้ว่า พ.ศ.๒๔๑๙ เป็นปีของภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวของโลก เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง ๓oo, ooo คน โยเกิดขึ้นที่ประเทศต่างๆ เช่น กัวเตมาลา อิตาลี อิหร่าน จีน ฟิลิปปินส์ และตุรกี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผ่นดินไหวที่เมืองตางชาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้เสียชีวิตกว่าสองแสนคน นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายแสนคน ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
แผ่นดินไหวในปี ๒๕๑๙ นี้ มิได้เกิดขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยของแผ่นดินไหวที่เคนเกิดในปีอื่นๆเลยจากสถิติแผ่นดินไหวทั่วโลก แต่ละปีจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง ๖ ริคเตอร์ ประมาณ ๑oo ครั้ง และขนาดความรุนแรง ๗ ริคเตอร์ประมาณ ๒o ครั้ง ตัวเลขนี้แสดงให้เหน็นว่า ทุกๆปี จะมีการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ แต่ในปี ๒๕๑๙ นี้ เป็นปีที่โชคร้ายที่เผอิญเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นที่บริเวณเมืองและชุมชน ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น
ความเสียหายจากแผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการพังทลายของบ้านเรือนและอาคารที่ไม่แข็งแรงการสั่นสะเทือนของพื้นดินยังทำให่สภาพดินหรือทรายที่อยู่ใต้อาคารมีสภาพคล้ายของเหลว เกิดปรากฏการณ์ที่เรื่อกว่า Liquefaction โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเสณที่มีดินอ่อน เช่น แผ่นดินไหวที่แม็กซิโกซิตี้ ในปี ๒๕๒๘ และแผ่นดินไหวที่โกเบในปี ๒๕๓๘ จะเห็นอาคารบางแห่งเอียงหรือตะแคงล้มลง
นอกจากความเสียหายที่เกิดกับอาคารแล้ว ยังมีภัยอื่นที่ตามมาหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม บางครั้งอาจก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าการสั่นไหวโดยตรงเสียอีก ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโก ปี ๒๔๔๙และแผ่นดินไหวที่โตเกียว ปี ๒๔๖๖ ทำให้เกิดไฟไหม้ติดต่อกันนานถึง ๓ วัน บ้านเรือนกว่า ๗o% ถูกไฟไหม้เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการดับเพลิงและไม่มีน้ำสำหรับดับไฟ เพราะท่อประปาแตกจากการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวที่โตเกียวนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง ๑๔o, ooo คน
สำหรับภัยที่เกิดจากน้ำท่วมฉับพลันนั้น มักเกิดเนื่องจากคลื่อใต้น้ำที่เรียกว่า “คลื่นสึนามิ” ซึ่งเคลื่อนเข้าหาใงทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งและทำความเสียหายแก่เรือที่จอดอยู่ บางครั้งคลื่นมีความสูงมากสามารถทำให้ผู้ที่อยู่บริเวณชายฝั่งจนน้ำตายได้ แต่คลื่นใต้น้ำนี้สามารถทำนายได้ว่าจะเคลื่อเข้าหาฝั่งเวลาใด หากทราบตำแหน่ง ขนาด และความลึกของแผ่นดินไหว ศูนย์การเตือนภัยคลื่นสึนามินี้ตั้งอยู่ที่ฮาวาย สหรัฐอเมรกา มีหน้าที่เตือนภัยให้กับประเทศต่างๆ ที่อยู่บริเวณชายฝั่งรอบๆ มหาสมุทรแปซิฟิก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศต่างๆ มีเครือข่ายการตรวจแผ่นดินไหว
ความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย ประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าประเทศไทยตั้งอยู่บริเสณที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและเชื่อว่าแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนั้นมีขนาดไม่รุนแรงไม่เป็นอันตรายต่ออาคารสิ่งก่อสร้างและชีวิตของประชาชนบางครั้งอาจทำให้ผู้คนตกใจบ้างแต่ก็ไม่เป็นอันตรายซึ่งไม่น่าที่จะต้องมีมาตราใดๆสำหรับป้องกันและรับมือต่อภัยแผ่นดินไหวความเชื่อนี้มาจากความจริงที่ว่าในอดีตที่ผ่านมาประเทศไม่มีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวที่ก่อให้เกิดความรุนแรงรวมทั้งการตรวจแผ่นดินไหวยังไม่ครอบคลุมและละเอียดเพียงพออีกทั้งยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังถึงแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ดี ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การศึกษาวิจัยด้านแผ่นดินไหวในประเทศไทยได้ก้าวหน้าขึ้นมากมีการรวบรวมข้อมูลแผ่นดินไหวอย่างเป็นระบบและมีเครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวมากขึ้น ทำให้สามารถตรวจจับการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กและขนาดกลางได้จำนวนมากในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ รวมทั้งนักวิชาการจากหลายสถาบันได้ทำการวิเคราะห์และสร้างแผนที่ความเสี่ยงภัยขึ้นมาหลายชุดผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่า บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกมิได้ปลอดภัยจากภัยแผ่นดินไหว แต่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง
หลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความเสี่ยง คือ แผ่นดินไหวที่ อ.พาน จ.เชียงราย เมื่อ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๗ มีขนาดความแรง ๕.๑ ริคเตอร์ จัดได้ว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดกลาง ซึ่งแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดห่างจากตัว อ.พาน ประมาณ ๑๕ กิเมตร ก่อให้เกิดความเสียหายค่อยข้างรุนแรงต่อโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ของโรงพยาบาลพาน นอกจากนั้นยังมีอาคารเรียนและอาคารพานิชย์แตกร้าว อาคารเรียนหลายแห่งต้องย้ายนักเรียนหลายห้องออกมาเรียนในเต็นท์ชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย โดยโรงเรียนมากกว่า ๒o หลัง และวัดอีกว่า ๓o แห่ง มีความเสียหายเล็กน้อยถึงปานกลาง
แผ่นดินไหวที่ อ.พานนี้ มิได้รุงแรงที่สุดจากที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งข้อมูลในอดีตพบว่าในปี ๒๕๒๖ ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดความแรง ๕.๓ และ ๕.๙ ริคเตอร์ เมื่อ ๑๕ และ ๒๒ เมษายน ที่ จ.กาญจนบุรี มาแล้วโดยมีศูนย์กลางบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ ประมาณ ๕๕ กิโลเมตร ระดับความรุนแรงก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคเหนือของประเทศ รวมถงกรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๒oo กิโลเมตร เกิดความเสียหายเล็กน้อยแก่อาคารในกรุงเทพมหานคร
แผ่นดินไหวที่มีอานุภาพรุนแรงถึงขั้นที่สามารถทำลายอาคารบ้านเรือนได้ เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ครั้ง ในบรเวณภาคเหนือและภาคตะวันตก แต่โชคดีที่แผ่นดินไหวเหล่านี้มีศุนย์กลางอยู่ไกลจากแหล่งชุมชน จึงไม่มีอาคารบ้านเรือนอยู่ในรัศมีการทำลายและการสูญเสียชีวิตของประชาชน ความไม่พร้อมในการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติของเราที่สำคัญ คือ เรายังขาดแคลนการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร เช่ร กรมทรัพยากรธรณ๊ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสำรวจรอยเลื่อน กรมอุตุนิยมวิทยาขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความเสี่ยงภัยและจัดทำแผนที่เสี่ยงภัย หรือกรมโยธาธิการขาดผู้เชี่ยวชาญที่สามารถสร้างมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานแรงแผ่นดินไหวให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
ในขณะนี้มีเพียง “โครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย” ซึ่งเป็นโครงการสำรวจวิจัยขนาดใหญ่มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ ๔ ปี โดยงบประมาณ ๗o ล้านบาท ซึ่งได้รับการเห็ฯชอบจากรัฐบาลให้ดำเนินการได้ระหว่างปี ๒๕๔o-๒๕๔๓ ถือเป็นโครงการนำร่องที่สำคัญต่อการศึกษาวิจัยด้านแผ่นดินไหวในอนาคต และมีความจำเป็นต้องว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ที่มีความรู้และประสบการณ์สูงในหลายสาขาของวิศวกรรมแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยยังขาดแคลนอยู่ให้มาช่วยทำการศึกษา สำรวจ และวิจัย โดยกำหนดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่บุคลากรไทยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถปฏิบัติได้องหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว
การเกิดคลื่นสึนามิเนื่องจากแผ่นดินไหวสำคัญของโลกพ.ศ.๒๔๗๒ ที่แกรนแบงค์ ประเทศแคนาดา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๗.๒ ริคเตอร์ ความเสียหาย ๔oo, ooo เหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๔๘๙ ที่อลาสกา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๗.๘ ริคเตอร์ความเสียหาย ๒๔ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๔๙๕ ที่รัสเซีย จากการเกิดแผ่นดินไหว ๘.๒ ริคเตอร์ ความเสียหาย ๑ ล้านเหรียญสหรัส
พ.ศ.๒๔oo ที่อลาสกา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๘.๓ ริคเตอร์ความเสียหาย ๕ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ. ๒๕oo ที่ประเทศชิลี จากการเกิดแผ่นดินไหว ๙.๖ ริคเตอร์ความเสียหาย ๑ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๕o๗ ที่อลาสกา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๘.๔ ริคเตอร์ความเสียหาย ๑o๖ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๕๔๖ ที่เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย จากการเกิดแผ่นดินไหว ๗.๙ ริคเตอร์ความหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๒๘o, ooo คน
เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญของประเทศไทย พ.ศ.๑oo๓ แผ่นดินไหวไม่ทราบความรุนแรง ที่นครโยนก (อำเภอพาน)แผ่นดินยุบที่ อ.เมืองพะเยา เมื่อวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๗
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ แผ่นดินไหว ๕.๖ ริคเตอร์ ที่ จ.ตาก
๒๒ เมษายน ๒๕๒๖ แผ่นดินไหว ๕.๙ ริคเตอร์ ที่ จ.กาญจนบุรี
๑๑ กันยายน ๒๕๓๗ แผ่นดินไหว ๕.๑ ที่ จ.เชียงราย
ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ได้อยู่ในบริเวณแผ่นดินไหวใหญ่ของโลก แต่จากการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายครั้งที่มีศูนย์กลางทั้งในและนอกประเทศ จะเห็นได้ส่าบางครั้งสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนที่รู้สึกได้โดยทั่วไปและก่อให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่ออาคาร เช่น แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ ขนาดความแรง ๕.๖ ริคเตอร์ ที่จังหวัดตาก , เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๒๖ ขนาดความแรง ๕.๙ ริคเตอร์ ที่จังหวัดกาญจนบุรี และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๗ ขนาดความรุนแรง ๕.๑ ริคเตอร์ ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งทำให้อาคารโรงพยาบาลพาน ที่อ.พาน เสียหายค่อนข้างหนักถึงขั้นระงับการใช้อาคาร สำหรับโรงเรียนและวัดหลายแห่งเสียหายเล็กน้อยจนถึงปานกลาง
ปัจจุบันประเทศไทยมีการก่อสร้างอาคารสูงและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มากมาย ตลอดจนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มของจำนวนประชากรของประเทศอย่างรวดเร็ว มำให้ประเทศไทยมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภัยจากแผ่นดินไหวสูงขึ้น ดังนั้น การศึกษาสถิติข้อมูลแผ่นดินไหวและการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ที่คาดว่าจะเป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหวได้
นอกจากนั้น การศึกษาความรุนแรงของแผ่นดินไหวในอดีต จะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนที่แบ่งเขตแผ่นดินไหว และแผนที่นี้จะเป้นตัวกำหนดค่าความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ สำหรับที่จะนำไปใช้ในการออกกฏกระทรวงว่าด้วยแรงแผ่นดินไหว เพื่อควบคุมการก่อสร้างต่างๆให้สามารถต้านทานแรงแผนดินไหวได้อย่างเหมาะสม
ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในอดีตที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นบทเรียนสำคัญในการวางแผนป้องกันและบรรเทาภัยผ่นดินไหวในอนาคต กล่าวได้ว่า พ.ศ.๒๔๑๙ เป็นปีของภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวของโลก เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง ๓oo, ooo คน โยเกิดขึ้นที่ประเทศต่างๆ เช่น กัวเตมาลา อิตาลี อิหร่าน จีน ฟิลิปปินส์ และตุรกี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผ่นดินไหวที่เมืองตางชาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้เสียชีวิตกว่าสองแสนคน นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายแสนคน ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล
แผ่นดินไหวในปี ๒๕๑๙ นี้ มิได้เกิดขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยของแผ่นดินไหวที่เคนเกิดในปีอื่นๆเลยจากสถิติแผ่นดินไหวทั่วโลก แต่ละปีจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง ๖ ริคเตอร์ ประมาณ ๑oo ครั้ง และขนาดความรุนแรง ๗ ริคเตอร์ประมาณ ๒o ครั้ง ตัวเลขนี้แสดงให้เหน็นว่า ทุกๆปี จะมีการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ แต่ในปี ๒๕๑๙ นี้ เป็นปีที่โชคร้ายที่เผอิญเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นที่บริเวณเมืองและชุมชน ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น
ความเสียหายจากแผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการพังทลายของบ้านเรือนและอาคารที่ไม่แข็งแรงการสั่นสะเทือนของพื้นดินยังทำให่สภาพดินหรือทรายที่อยู่ใต้อาคารมีสภาพคล้ายของเหลว เกิดปรากฏการณ์ที่เรื่อกว่า Liquefaction โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเสณที่มีดินอ่อน เช่น แผ่นดินไหวที่แม็กซิโกซิตี้ ในปี ๒๕๒๘ และแผ่นดินไหวที่โกเบในปี ๒๕๓๘ จะเห็นอาคารบางแห่งเอียงหรือตะแคงล้มลง
นอกจากความเสียหายที่เกิดกับอาคารแล้ว ยังมีภัยอื่นที่ตามมาหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม บางครั้งอาจก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าการสั่นไหวโดยตรงเสียอีก ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโก ปี ๒๔๔๙และแผ่นดินไหวที่โตเกียว ปี ๒๔๖๖ ทำให้เกิดไฟไหม้ติดต่อกันนานถึง ๓ วัน บ้านเรือนกว่า ๗o% ถูกไฟไหม้เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการดับเพลิงและไม่มีน้ำสำหรับดับไฟ เพราะท่อประปาแตกจากการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวที่โตเกียวนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง ๑๔o, ooo คน
สำหรับภัยที่เกิดจากน้ำท่วมฉับพลันนั้น มักเกิดเนื่องจากคลื่อใต้น้ำที่เรียกว่า “คลื่นสึนามิ” ซึ่งเคลื่อนเข้าหาใงทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งและทำความเสียหายแก่เรือที่จอดอยู่ บางครั้งคลื่นมีความสูงมากสามารถทำให้ผู้ที่อยู่บริเวณชายฝั่งจนน้ำตายได้ แต่คลื่นใต้น้ำนี้สามารถทำนายได้ว่าจะเคลื่อเข้าหาฝั่งเวลาใด หากทราบตำแหน่ง ขนาด และความลึกของแผ่นดินไหว ศูนย์การเตือนภัยคลื่นสึนามินี้ตั้งอยู่ที่ฮาวาย สหรัฐอเมรกา มีหน้าที่เตือนภัยให้กับประเทศต่างๆ ที่อยู่บริเวณชายฝั่งรอบๆ มหาสมุทรแปซิฟิก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศต่างๆ มีเครือข่ายการตรวจแผ่นดินไหว
ความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย ประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าประเทศไทยตั้งอยู่บริเสณที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและเชื่อว่าแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนั้นมีขนาดไม่รุนแรงไม่เป็นอันตรายต่ออาคารสิ่งก่อสร้างและชีวิตของประชาชนบางครั้งอาจทำให้ผู้คนตกใจบ้างแต่ก็ไม่เป็นอันตรายซึ่งไม่น่าที่จะต้องมีมาตราใดๆสำหรับป้องกันและรับมือต่อภัยแผ่นดินไหวความเชื่อนี้มาจากความจริงที่ว่าในอดีตที่ผ่านมาประเทศไม่มีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวที่ก่อให้เกิดความรุนแรงรวมทั้งการตรวจแผ่นดินไหวยังไม่ครอบคลุมและละเอียดเพียงพออีกทั้งยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังถึงแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ดี ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การศึกษาวิจัยด้านแผ่นดินไหวในประเทศไทยได้ก้าวหน้าขึ้นมากมีการรวบรวมข้อมูลแผ่นดินไหวอย่างเป็นระบบและมีเครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวมากขึ้น ทำให้สามารถตรวจจับการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กและขนาดกลางได้จำนวนมากในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ รวมทั้งนักวิชาการจากหลายสถาบันได้ทำการวิเคราะห์และสร้างแผนที่ความเสี่ยงภัยขึ้นมาหลายชุดผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่า บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกมิได้ปลอดภัยจากภัยแผ่นดินไหว แต่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง
หลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความเสี่ยง คือ แผ่นดินไหวที่ อ.พาน จ.เชียงราย เมื่อ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๗ มีขนาดความแรง ๕.๑ ริคเตอร์ จัดได้ว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดกลาง ซึ่งแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดห่างจากตัว อ.พาน ประมาณ ๑๕ กิเมตร ก่อให้เกิดความเสียหายค่อยข้างรุนแรงต่อโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ของโรงพยาบาลพาน นอกจากนั้นยังมีอาคารเรียนและอาคารพานิชย์แตกร้าว อาคารเรียนหลายแห่งต้องย้ายนักเรียนหลายห้องออกมาเรียนในเต็นท์ชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย โดยโรงเรียนมากกว่า ๒o หลัง และวัดอีกว่า ๓o แห่ง มีความเสียหายเล็กน้อยถึงปานกลาง
แผ่นดินไหวที่ อ.พานนี้ มิได้รุงแรงที่สุดจากที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งข้อมูลในอดีตพบว่าในปี ๒๕๒๖ ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดความแรง ๕.๓ และ ๕.๙ ริคเตอร์ เมื่อ ๑๕ และ ๒๒ เมษายน ที่ จ.กาญจนบุรี มาแล้วโดยมีศูนย์กลางบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ ประมาณ ๕๕ กิโลเมตร ระดับความรุนแรงก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคเหนือของประเทศ รวมถงกรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๒oo กิโลเมตร เกิดความเสียหายเล็กน้อยแก่อาคารในกรุงเทพมหานคร
แผ่นดินไหวที่มีอานุภาพรุนแรงถึงขั้นที่สามารถทำลายอาคารบ้านเรือนได้ เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ครั้ง ในบรเวณภาคเหนือและภาคตะวันตก แต่โชคดีที่แผ่นดินไหวเหล่านี้มีศุนย์กลางอยู่ไกลจากแหล่งชุมชน จึงไม่มีอาคารบ้านเรือนอยู่ในรัศมีการทำลายและการสูญเสียชีวิตของประชาชน ความไม่พร้อมในการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติของเราที่สำคัญ คือ เรายังขาดแคลนการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร เช่ร กรมทรัพยากรธรณ๊ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสำรวจรอยเลื่อน กรมอุตุนิยมวิทยาขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความเสี่ยงภัยและจัดทำแผนที่เสี่ยงภัย หรือกรมโยธาธิการขาดผู้เชี่ยวชาญที่สามารถสร้างมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานแรงแผ่นดินไหวให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
ในขณะนี้มีเพียง “โครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย” ซึ่งเป็นโครงการสำรวจวิจัยขนาดใหญ่มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ ๔ ปี โดยงบประมาณ ๗o ล้านบาท ซึ่งได้รับการเห็ฯชอบจากรัฐบาลให้ดำเนินการได้ระหว่างปี ๒๕๔o-๒๕๔๓ ถือเป็นโครงการนำร่องที่สำคัญต่อการศึกษาวิจัยด้านแผ่นดินไหวในอนาคต และมีความจำเป็นต้องว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ที่มีความรู้และประสบการณ์สูงในหลายสาขาของวิศวกรรมแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยยังขาดแคลนอยู่ให้มาช่วยทำการศึกษา สำรวจ และวิจัย โดยกำหนดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่บุคลากรไทยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถปฏิบัติได้องหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว
การเกิดคลื่นสึนามิเนื่องจากแผ่นดินไหวสำคัญของโลกพ.ศ.๒๔๗๒ ที่แกรนแบงค์ ประเทศแคนาดา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๗.๒ ริคเตอร์ ความเสียหาย ๔oo, ooo เหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๔๘๙ ที่อลาสกา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๗.๘ ริคเตอร์ความเสียหาย ๒๔ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๔๙๕ ที่รัสเซีย จากการเกิดแผ่นดินไหว ๘.๒ ริคเตอร์ ความเสียหาย ๑ ล้านเหรียญสหรัส
พ.ศ.๒๔oo ที่อลาสกา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๘.๓ ริคเตอร์ความเสียหาย ๕ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ. ๒๕oo ที่ประเทศชิลี จากการเกิดแผ่นดินไหว ๙.๖ ริคเตอร์ความเสียหาย ๑ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๕o๗ ที่อลาสกา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๘.๔ ริคเตอร์ความเสียหาย ๑o๖ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๕๔๖ ที่เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย จากการเกิดแผ่นดินไหว ๗.๙ ริคเตอร์ความหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๒๘o, ooo คน
เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญของประเทศไทย พ.ศ.๑oo๓ แผ่นดินไหวไม่ทราบความรุนแรง ที่นครโยนก (อำเภอพาน)แผ่นดินยุบที่ อ.เมืองพะเยา เมื่อวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๗
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ แผ่นดินไหว ๕.๖ ริคเตอร์ ที่ จ.ตาก
๒๒ เมษายน ๒๕๒๖ แผ่นดินไหว ๕.๙ ริคเตอร์ ที่ จ.กาญจนบุรี
๑๑ กันยายน ๒๕๓๗ แผ่นดินไหว ๕.๑ ที่ จ.เชียงราย
ภัยแล้ง
ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้งและงส่งผลกระทบต่อชุมชน
สาเหตุของการเกิดภัยแล้ง
โดยธรรมชาติ ได้แก่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว
โดยการกระทำของมนุษย์ ได้แก่การทำลายชั้นโอโซน
ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก
การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
การตัดไม้ทำลายป่า
สำหรับภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ฝนแล้งมีความหมายอย่างไร
ด้านอุตุนิยมวิทยา
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่ฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝน โดยขึ้นอยู่กับสถานที่และฤดูกาล ณ ที่นั้นๆด้วย
ด้านการเกษตร
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำของพืช
ด้านอุทกวิทยา
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่ระดับน้ำผิวดิน และใต้ดินลดลง หรือน้ำในแม่น้ำ ลำคลองลดลง
ด้านเศรษฐศาสตร์
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะขาดแคลนน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพเศรฐกิจในภูมิภาค
ความรุนแรงของฝนแล้งแบ่งได้ดังนี้ภาวะฝนแล้งอย่างเบา
ภาวะฝนแล้งปานกลาง
ภาวะฝนแล้งอย่างรุนแรง
ฝนทิ้งช่วง หมายถึงช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ ๑ มิลลิเมตร ติดต่อกันเกิน ๑๕ วัน ในช่วงฤดูฝนเดือนที่มีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงสูง คือ เดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม
ภัยแล้งในประเทศไทยสามารถเกิดช่วงเวลาใดบ้างภัยแล้งในประเทศไทยจะเกิดใน ๒ ช่วง ได้แก่ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนตกลดลงเป็นลำดับจนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณนี้จะเกิดขึ้นประจำทุกปี
ช่วงกลางฤดู ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ
ในอดีตภาวะภัยแล้งเกิดขึ้นที่ใดและเมื่อใด
ในช่วงปี ๒๕๑o – ๒๕๓๖ เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่เนื่องจากฝนทิ้งช่วงกลางฤดูฝนเป็นระยะเวลายาวนานกว่าปกติตั้งแต่กรกฎาคนถึงกันยายน บริเวณที่ได้รับผลกระทบเป็นบริเวณกว้างคือ ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ตอนบนและด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก
พ.ศ.๒๕๑o พื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา รวมถึงตอนบนของประเทศเกือบทั้งหมดในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งกรุงเทพมหานคร มีปริมาณฝนน้อยมาก ทำให้เกิดภัยแล้งขึ้น
พ.ศ.๒๕๑๑ พื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางของภาคเหนือบริเวณจังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางทั้งภาคตลอดถึงด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และตลอดฝั่งอ่าวไทยของภาคใต้เกือนทั้งหมด ได้รับปริมาณฝนน้อยมาก และส่งผลให้เกิดภัยแล้ง
พ.ศ.๒๕๒o มีรายงานว่าเกิดภัยแล้ง ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม พื้นที่ที่ประสบภัยเกือบทั่วประเทศ
พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นปีที่เกิดฝนแล้งรุนแรง โดยมีรายงานว่าเกิดภัยแล้งในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคมและช่วงปลายเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึงสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนกันยายน เนื่องจากปริมาณฝนตกลงมามีน้อยมาก ทำความเสียหายและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมรวมทั้งการผลิตไฟฟ้า นอกจากนั้นยังกระทบต่อความเป็นอยู่ของปราชาชนในประเทศเพราะขาดน้ำกิน น้ำใช้ บริเวณที่แห้งจัดนั้นมีบริเวณกว้างที่สุดคือ ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ทางตอนบนและด้านตะวันตก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน
พ.ศ.๒๕๒๙ มีรายงานความเสียหายจากสำนักเลขาธิการป้องกันภัยแล้งฝ่ายพลเรือน กระทรวงมหาดไทยว่าบริเวณที่ประสบภัยมีถึง ๔๑ จังหวัด ซึ่งภัยแล้งในปีนี้เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงที่ปรากฏ ชัดเจนเป็นเวลาหลายวันคือช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้อนเดือนมิถุนายน ช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงครึ่งหลังของเดือนกันยายนและช่วงครึ่งแรกของเดือนตุลาคม
พ.ศ.๒๕๓o เป็นปีที่ประสบภัยแล้งหนักอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ประสบมาแล้วจากปี ๒๕๒๙ โดยพื้นที่ที่ประสบภัยเป็นบริเวณกว้างในเกือนทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกและทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงตอนกลางฤดูฝน
พ.ศ.๒๕๓๓ มีฝนตกน้อยมากในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนทั่วประเทศ พื้นที่ทางการเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้
พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นปีที่ปริมาณฝนสะสมน้อยตั้งแต่ต้นฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางน้อยมาก อีกทั้งระดับน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ อยู่ในเกณ์ต่ำกว่าปกติมาก กรมชลประทานไม่สามารถที่จะระบายน้ำลงมาช่วงเกษตรกรที่อยู่ใต้เขื่อนได้ ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำขึ้น ในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก
พ.ศ.๒๕๓๕ มีรายงานว่าเกิดิภัยแล้งขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนมิถายนจากภาวะที่มีฝนตกในช่วงฤดูร้อนน้อย และมีภาวะฝนทิ้งช่วงปลายเดือนมิถุนายนต่อเนื่องต้นเดือนกรกฎาคม โดยพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือตามลำดับ
พ.ศ.๒๕๓๖ มีรายงานว่าเกิดภัยแล้ง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม และในช่วงกลางเดือนมิถุนายนเนื่องจากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม นอกจากนั้นในช่วงปลายฤดูเพาะปลูกฝนหมดเร็วกว่าปกติ โดยพื้นที่ประสบภัยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตามลำดับ
ที่มาจากมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
สาเหตุของการเกิดภัยแล้ง
โดยธรรมชาติ ได้แก่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว
โดยการกระทำของมนุษย์ ได้แก่การทำลายชั้นโอโซน
ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก
การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
การตัดไม้ทำลายป่า
สำหรับภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล
ฝนแล้งมีความหมายอย่างไร
ด้านอุตุนิยมวิทยา
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่ฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝน โดยขึ้นอยู่กับสถานที่และฤดูกาล ณ ที่นั้นๆด้วย
ด้านการเกษตร
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำของพืช
ด้านอุทกวิทยา
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่ระดับน้ำผิวดิน และใต้ดินลดลง หรือน้ำในแม่น้ำ ลำคลองลดลง
ด้านเศรษฐศาสตร์
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะขาดแคลนน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพเศรฐกิจในภูมิภาค
ความรุนแรงของฝนแล้งแบ่งได้ดังนี้ภาวะฝนแล้งอย่างเบา
ภาวะฝนแล้งปานกลาง
ภาวะฝนแล้งอย่างรุนแรง
ฝนทิ้งช่วง หมายถึงช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ ๑ มิลลิเมตร ติดต่อกันเกิน ๑๕ วัน ในช่วงฤดูฝนเดือนที่มีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงสูง คือ เดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม
ภัยแล้งในประเทศไทยสามารถเกิดช่วงเวลาใดบ้างภัยแล้งในประเทศไทยจะเกิดใน ๒ ช่วง ได้แก่ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนตกลดลงเป็นลำดับจนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณนี้จะเกิดขึ้นประจำทุกปี
ช่วงกลางฤดู ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ
ในอดีตภาวะภัยแล้งเกิดขึ้นที่ใดและเมื่อใด
ในช่วงปี ๒๕๑o – ๒๕๓๖ เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่เนื่องจากฝนทิ้งช่วงกลางฤดูฝนเป็นระยะเวลายาวนานกว่าปกติตั้งแต่กรกฎาคนถึงกันยายน บริเวณที่ได้รับผลกระทบเป็นบริเวณกว้างคือ ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ตอนบนและด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก
พ.ศ.๒๕๑o พื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา รวมถึงตอนบนของประเทศเกือบทั้งหมดในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งกรุงเทพมหานคร มีปริมาณฝนน้อยมาก ทำให้เกิดภัยแล้งขึ้น
พ.ศ.๒๕๑๑ พื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางของภาคเหนือบริเวณจังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางทั้งภาคตลอดถึงด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และตลอดฝั่งอ่าวไทยของภาคใต้เกือนทั้งหมด ได้รับปริมาณฝนน้อยมาก และส่งผลให้เกิดภัยแล้ง
พ.ศ.๒๕๒o มีรายงานว่าเกิดภัยแล้ง ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม พื้นที่ที่ประสบภัยเกือบทั่วประเทศ
พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นปีที่เกิดฝนแล้งรุนแรง โดยมีรายงานว่าเกิดภัยแล้งในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคมและช่วงปลายเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึงสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนกันยายน เนื่องจากปริมาณฝนตกลงมามีน้อยมาก ทำความเสียหายและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมรวมทั้งการผลิตไฟฟ้า นอกจากนั้นยังกระทบต่อความเป็นอยู่ของปราชาชนในประเทศเพราะขาดน้ำกิน น้ำใช้ บริเวณที่แห้งจัดนั้นมีบริเวณกว้างที่สุดคือ ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ทางตอนบนและด้านตะวันตก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน
พ.ศ.๒๕๒๙ มีรายงานความเสียหายจากสำนักเลขาธิการป้องกันภัยแล้งฝ่ายพลเรือน กระทรวงมหาดไทยว่าบริเวณที่ประสบภัยมีถึง ๔๑ จังหวัด ซึ่งภัยแล้งในปีนี้เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงที่ปรากฏ ชัดเจนเป็นเวลาหลายวันคือช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้อนเดือนมิถุนายน ช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงครึ่งหลังของเดือนกันยายนและช่วงครึ่งแรกของเดือนตุลาคม
พ.ศ.๒๕๓o เป็นปีที่ประสบภัยแล้งหนักอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ประสบมาแล้วจากปี ๒๕๒๙ โดยพื้นที่ที่ประสบภัยเป็นบริเวณกว้างในเกือนทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกและทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงตอนกลางฤดูฝน
พ.ศ.๒๕๓๓ มีฝนตกน้อยมากในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนทั่วประเทศ พื้นที่ทางการเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้
พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นปีที่ปริมาณฝนสะสมน้อยตั้งแต่ต้นฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางน้อยมาก อีกทั้งระดับน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ อยู่ในเกณ์ต่ำกว่าปกติมาก กรมชลประทานไม่สามารถที่จะระบายน้ำลงมาช่วงเกษตรกรที่อยู่ใต้เขื่อนได้ ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำขึ้น ในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก
พ.ศ.๒๕๓๕ มีรายงานว่าเกิดิภัยแล้งขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนมิถายนจากภาวะที่มีฝนตกในช่วงฤดูร้อนน้อย และมีภาวะฝนทิ้งช่วงปลายเดือนมิถุนายนต่อเนื่องต้นเดือนกรกฎาคม โดยพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือตามลำดับ
พ.ศ.๒๕๓๖ มีรายงานว่าเกิดภัยแล้ง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม และในช่วงกลางเดือนมิถุนายนเนื่องจากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม นอกจากนั้นในช่วงปลายฤดูเพาะปลูกฝนหมดเร็วกว่าปกติ โดยพื้นที่ประสบภัยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตามลำดับ
ที่มาจากมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ