ภัยพิบัติที่ควรรู้

สึนามิ


สึนามิ เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า Harbour Wave คำแรก สึ แปลว่า harbour คำที่สอง นามิ แปลว่า คลื่น ปัจจุบันใช้เป็นคำเรียก กลุ่มคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากๆขนาดหลายร้อยไมล์ นับจากยอดคลื่นที่ไล่ตามกันไป เกิดขึ้นจากการที่น้ำทะเลในปริมาตรเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ถูกผลักดันให้เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ด้วยเหตุมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกส่วนที่อยู่ใต้ทะเลลึก บางครั้งก็เรียกว่า seismic wave เพราะส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนไหวดังกล่าว เรามักจะสับสนกับคำว่า สึนามิ กับ tidal wave ซึ่งเกิดจากน้ำขึ้นน้ำลง แต่ สึนามิ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับการขึ้นลงของน้ำเลย
สึนามิ ส่วนใหญ่ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลอย่างฉับพลัน อาจจะเป็นการเกิดแผ่นดินถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง ทำให้มีน้ำทะเลปริมาตรมหาศาลถูกดันขึ้นหรือทรุดตัวลงอย่างฉับพลัน พลังงานจำนวนมหาศาลก็ถ่ายเทไปให้เกิดการเคลื่อนตัวของน้ำทะเลเป็น คลื่นสึนามิ ที่เหนือทะเลลึก จะดูไม่ต่างไปจากคลื่นทั่วๆไปเลย จึงไม่สามารถสังเกตได้ด้วยวิธีปกติ แม้แต่คนบนเรือเหนือทะเลลึกที่ คลื่นสึนามิ เคลื่อนผ่านใต้ท้องเรือไป ก็จะไม่รู้สึกอะไร เพราะเหนือทะเลลึก คลื่นนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลปกติเพียงไม่กี่ฟุตเท่านั้น จึงไม่สามารถแม้แต่จะบอกได้ด้วยภาพถ่ายจากเครื่องบิน หรือยานอวกาศ
นอกจากนี้แล้ว สึนามิ ยังเกิดได้จากการเกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเล หรือใกล้ฝั่งที่ทำให้มวลของดินและหิน ไปเคลื่อนย้ายแทนที่มวลน้ำทะเล หรือภูเขาไฟระเบิดใกล้ทะเล ส่งผลให้เกิดการโยนสาดดินหินลงน้ำ จนเกิดเป็นคลื่น สึนามิ ได้ ดังเช่น การระเบิดของภูเขาไฟ คระคะตัว ในปี ค.ศ. ๑๘๘๓ ซึ่งส่งคลื่น สึนามิ ออกไปทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในเอเชีย มีจำนวนผู้ตายถึงประมาณ ๓๖,๐๐๐ ชีวิต








โคลนถล่ม


โคลนถล่ม เป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นตามเชิงเขา โดบอาจจะเป็นการถล่มของโคลน น้ำ สิ่งปฏิกูล เศษขยะ ดินเปียก ฝุ่นผง เถ้าภูเขาไฟ ต้นไม้ และท่อนซุง
โคลนถล่มอาจเกิดหลังจากฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมฉับพลัน หรือการเกิดแผ่นดินไหว สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโคลนถล่มก็คือ การตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ไม่มีรากไม้ที่จะยึดดิน ทำให้ดินถล่มได้ง่าย


กระบวนการเกิดดินหรือโคลนถล่มหลังจากฝนตกหนัก น้ำจะซึมลงไปในดินอย่างรวดเร็ว จนดินอุ้มน้ำเกิดการอิ่มตัวทำให้แรงยึดเกาะระหว่างมวลดินลดลง ส่วนระดับน้ำใต้ผิวดินก็สูงขึ้น และไหลมาตามช่องว่างระหว่างดินตามความลาดชันของภูเขา และเมื่อมีการเปลี่ยนความชันจนเกิดเป็นน้ำผุด จะป็นจุดแรกที่มีการเลื่อนไหลของดิน หลังจากนั้นดินจะเลื่อนไหลต่อเนื่องไปตามลาดเขา


ข้อสังเกตุหรือสิ่งบอกเหตุที่สำคัญได้แก่
  • ฝนตกหนักถึงหนักมาก (มากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน) นานหลายวัน
  • น้ำในลำห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเปลี่ยนเป็นสีของดินภูเขา
  • มีเสียงดังอึ้ออึง ผิดปกติมาจากภูเขาและลำห้วย
โคลนถล่นในประเทศไทย
เหตุการณ์โคลนถล่มที่มีความรุงแรงในประเทศไทย ที่มีการบันทึกไว้ได้แก่
  • วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลัน ส่งผลให้มีดินโคลนถล่มในพื้นที่ อ.ลับแล จ.อุดรดิตถ์ เสียชีวิต ๘๗ คน สูญหาย ๒๙ คน
  • วันที่ ๑o สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๔ น้ำป่าโคลนถล่มที่ ต.น้ำก้อ ต.น้ำชุน ต.หนองไขว้ ใน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ บ้านเรือนเสียหาย ๕๑๕ ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๑๓o คน
  • วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๔ น้ำป่าทะลักจากอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย ถล่มใส่หลายหมู่บ้านใน อ.วังชื้น จ.แพร่ มีผู้เสียชีวิต ๒๓ คน สูญหาย ๑๖ ราย บาดเจ็บ ๕๘ ราย
  • วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๑ ที่ ต.กะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิตถึง ๗oo คน


พายุหมุนเขตร้อน

พายุหมุนเขตร้อนเป็นคำที่ใช้เรียกพายุหมุนหรือไซโคลนที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบเส้นรุ้งต่ำใกล้เขตศูนย์สูตร มีการหมุนเวียนของลมพัดเวียนทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือและพัดเวียนตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้พายุหมุนเขตร้อนเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่มีอนุภาพรุนแรงและมีผลกระทบต่อลักษณะอากาศในเขตร้อน ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย เช่น ทำให้เกิดฝนตกหนัก น้ำท่วม และเกิดคลื่นสูงในทะเล พายุหมุนเขตร้อนนี้เมื่อมีกำลังแรงสูงสุดมีชื่อเรียกแตกต่างออกไปตามแหล่งกำเนิด เช่น พายุที่เกิดในอ่าวเบงกอลและมหาสมุทรอินเดียเรียกว่า “ไซโคลน” เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริเบียน อ่าวเมกซิโกและทางด้านตะวันตกของแม็กซิโกเรียกว่า “ไต้ฝุ่น” และเกิดแถบทวีปออสเตรเลียเรียกว่า”วิลลี่-วิลลี่”


พายุหมนเขตร้อนทีมีแหล่งกำเนิดในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือด้านตะวันตกและทะเลจีนใต้ มีการแบ่งเกณฑ์ความรุนแรงของพายุตามข้อตกลงระหว่างประเทศโดยใช้ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุกำหนดมีดังนี้

พายุดีเปรสชั่น : มีความเร็วลมไม่เกิน ๓๓ นอต (๖๑ กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
พายุโซนร้อน : มีความเร็วลม ๓๔-๖๓ นอต (๖๒-๑๑๗ กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ไต้ฝุ่น : มีความเร็วลม ๖๔ นอต (๑๑๘ กิโลเมตรต่อชั่วโมง)

ประเทศไทยตั้งอยู่ระหว่างบริเวณแหล่งกำเนิดของพายุหมุนเขตร้อนสองด้าน ด้านตะวันออกคือมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ส่วนด้านตะวันตกคืออ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน โดยพายุมีโอกาสเคลื่อนจากมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้เข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออกมากกว่าทางด้านตกวันตก ปกติประเทศไทยจะมีพายุเคลื่อนผ่านเข้ามาได้โดยเฉลี่ยประมาณ ๓-๔ครั้งต่อปี บริเวณที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านเข้ามามากที่สุดคือภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ซึ่งในระยะต้นปีระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคมเป็นช่วงที่ประเทศไทยปลอดจากอิทธิพลของพายุ จนถึงเดือนเมษายนนับเป็นเดือนแรกของปีที่พายุเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคใต้ได้ แต่ก็มีโอกาสน้อยและเคยเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในรอบ ๕๑ ปี ผ(พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๔) ซึ่งพายุเริ่มมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคมและโดยส่วนใหญ่เป็นพายุที่เคลื่อนมาจากด้านตะวันตกเข้าสู่ประเทศไทยทางตอนบน และตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไปพายุส่วนใหญ่จะเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยทางด้านตะวันออก โดยช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมพายุยังคงเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบน ซึ่งบริเวณตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ที่พายุมีโอกาสเคลื่อนผ่านเข้ามามากที่สุด และเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคมพายุมีโอกาสเคลื่อนเข้ามาได้ในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้ตั้งแต่เดือนกันยายน ในสองเดือนนี้เป็นระยะที่พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยได้มาก โดยเฉพาะเดือนตุลาคมมีสถิติเคลื่อนเข้ามามากที่สุดในรอบปี สำหรับช่วงปลายปีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนพายุจะเคลื่อนเข้าสู่ปะเทศไทยตอนบนน้อยลงและมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้มากขึ้น เมื่อถึงเดือนธันวาคมพายุมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าสู่ภาคใต้เท่านั้น โดยไม่มีพายุเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอยบนอีก

พายุที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชั่น เพราะพื้นดินและเทือกเขาของประเทศเมียนมาร์ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา ที่ล้อมรอบประเทศไทยตอนบนเป็นปัจจัยที่ช่วยลดความรุนแรงของพายุก่อนที่จะเคลื่อนมาถึงประเทศไทย ดังนั้นความเสียหายที่เกิดจากลมแรงจึงน้อยกว่าภาคใต้ซึ่งมีภูมิประเทศเป็นพื้นที่สู่ทะเล พายุที่เคลื่อนเข้าสู่อ่าวไทยและขึ้นฝั่งภาคใต้ขณะมีกำลังแรงขนาดพายุโซนร้อนหรือไต้ฝุ่นจะมีผลกระทบเป็นอย่างมากจากคลื่นพายุซัดฝั่ง ลมพัดแรงจัด และฝนตกหนักถึงหนักมากจนเกิดอุทกภัย รวมทั้งคลื่อลมแรงในอ่าวไทย ดังเช่นที่เคยเกิดขึ้น ๓ ครั้งในอดีย ได้แก่พายุโซนร้อน “แฮเรียด” ที่เคลื่อนเข้าสู่แหลมตะลุมพุกจังหวัดนครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ ๒๕-๒๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕o๕ พายุไต้ฝุ่น “เกย์” ที่เคลื่อนเข้าสู่จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๒ และพายุไต้ฝุ่น “ลินดา” ที่เคลื่อนเข้าสู่จังหวัดประจวบคีรีขันต์ขณะมีกำลังเป็นพายุโซนร้อนเมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔o

อุทกภัยกรณีเกิดน้ำท่วมใหญ่ในเขตชุมชน หรือท่วมพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรแล้วทำให้ทรัพย์สินและพืชผลจำนวนมาก ตลอดจนสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้รับความเสียหาย เราเรียกว่า “อุทกภัย” เช่น อุทกภัยเนื่องจากน้ำป่าไหลหลากจนมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ที่บ้านน้ำก้อ-บ้านน้ำชุน อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ และอุทกภัย เนื่องจากน้ำท่วมใหญ่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างและที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งได้ทำความเสียหายอย่างมากมายมาแล้วหลายครั้งในอดีต

สาเหตุของการเกิดน้ำท่วมและอุทกภัยเนื่องจากความวิปริตผันแปรของธรรมชาติ และบางท้องที่การกระทำของมนุษย์ก็มีส่วนสำคัญทำให้ภาวะการเกิดอุทกภัยมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น

โดยธรรมชาติ ได้แก่การเกิดฝนตกหนักจนทำให้เกิดอุทกภัย ส่วนใหญ่เป็นฝนอันเกิดจากอิทธิพลของพายุหมุนเขตร้อน
ลักษณธและส่วนประกอบตามธรรมชาติของพื้นที่ลุ่มน้ำ มีขนาดพื้นที่ลุ่มน้ำ ความลาดชัน ชนิดของดิน สภาพพืชต่างๆ
น้ำทะเลหนุน

โดยการกระทำของมนุษย์ ได้แก่การบุกรุกแผ้วถางป่าในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ
การใช้ที่ดินโดยไม่มีการควบคุม การทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ การขยายตัวของชุมชนจนทำลายแก้มลิงธรรมชาติ
การก่อสร้างบ้านเรือน ถนน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ กีดขวางทางน้ำไหล
แม่น้ำลำธารมีสภาพตื้นเขินหรือถูกบุกรุก
แผ่นดินทรุด เนื่องจากมีการสูบน้ำบาดาลไปใช้เกินสมดุลย์ จนแผ่นดินมีการทรุดตัวลงเป็นบริเวณกว้าง

อุทกภัยในอดียที่ทำความเสียหายให้อย่างรุกแรงได้มีการบัยทึกในระยะ ๑o ปีเศษที่ผ่านมามี ดังนี้ พ.ศ.๒๕๓๘ พายุดีเปรสชั่นพัดเข้าสู่ประเทศไทย บริเวณภาคเหนือหลายลูก ทำให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมรุนแรงทั่วประเทศจากภาคกลางตอนบนถึงภาคกลางตอนล่าง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตกจังหวัดนครศวรรค์ถึงกรุงเทพมหานคร ได้รับผลกระทบ พื้นที่เกษตรกรรมและชุมชนบ้านเรือน ถูกน้ำท่วมรุนแรงนานหลายเดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหาครและปริมณฑลอยู่ในอิทธิพลน้ำทะเลหนุนซ้ำเติม ถูกน้ำท่วมหนักที่สุด หลังจากปีน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ.๒๔๘๕ ทีเดียว





แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล ประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีตที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตนับแสนคนในประเทศที่อยู่ในเจตแผ่นดินไหว เช่น จีนและญี่ปุ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดที่เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น ได้เกิดความเสียหายรุนแรงต่ออาคารบ้านเรือน ทางด่วน และระบบสาธารณูปโภคมากกว่าที่คาดไว้ แม่ว่าได้ออกแบบก่อสร้างให้เผื่อรับแรงแผ่นดินไหวตามที่กฏหมายบังคับไว้แล้วก็ตาม

ถึงแม้ประเทศไทยจะไม่ได้อยู่ในบริเวณแผ่นดินไหวใหญ่ของโลก แต่จากการเกิดแผ่นดินไหวขึ้นหลายครั้งที่มีศูนย์กลางทั้งในและนอกประเทศ จะเห็นได้ส่าบางครั้งสามารถส่งแรงสั่นสะเทือนที่รู้สึกได้โดยทั่วไปและก่อให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยต่ออาคาร เช่น แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ ขนาดความแรง ๕.๖ ริคเตอร์ ที่จังหวัดตาก , เมื่อวันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๒๖ ขนาดความแรง ๕.๙ ริคเตอร์ ที่จังหวัดกาญจนบุรี และครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๗ ขนาดความรุนแรง ๕.๑ ริคเตอร์ ที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งทำให้อาคารโรงพยาบาลพาน ที่อ.พาน เสียหายค่อนข้างหนักถึงขั้นระงับการใช้อาคาร สำหรับโรงเรียนและวัดหลายแห่งเสียหายเล็กน้อยจนถึงปานกลาง

ปัจจุบันประเทศไทยมีการก่อสร้างอาคารสูงและสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่มากมาย ตลอดจนมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการเพิ่มของจำนวนประชากรของประเทศอย่างรวดเร็ว มำให้ประเทศไทยมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดภัยจากแผ่นดินไหวสูงขึ้น ดังนั้น การศึกษาสถิติข้อมูลแผ่นดินไหวและการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนต่างๆ ที่คาดว่าจะเป็นแหล่งกำเนิดของแผ่นดินไหวได้

นอกจากนั้น การศึกษาความรุนแรงของแผ่นดินไหวในอดีต จะเป็นแนวทางในการจัดทำแผนที่แบ่งเขตแผ่นดินไหว และแผนที่นี้จะเป้นตัวกำหนดค่าความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศ สำหรับที่จะนำไปใช้ในการออกกฏกระทรวงว่าด้วยแรงแผ่นดินไหว เพื่อควบคุมการก่อสร้างต่างๆให้สามารถต้านทานแรงแผนดินไหวได้อย่างเหมาะสม

ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในอดีตที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นบทเรียนสำคัญในการวางแผนป้องกันและบรรเทาภัยผ่นดินไหวในอนาคต กล่าวได้ว่า พ.ศ.๒๔๑๙ เป็นปีของภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวของโลก เนื่องจากเกิดแผ่นดินไหวที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง ๓oo, ooo คน โยเกิดขึ้นที่ประเทศต่างๆ เช่น กัวเตมาลา อิตาลี อิหร่าน จีน ฟิลิปปินส์ และตุรกี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แผ่นดินไหวที่เมืองตางชาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้เสียชีวิตกว่าสองแสนคน นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกหลายแสนคน ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล

แผ่นดินไหวในปี ๒๕๑๙ นี้ มิได้เกิดขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยของแผ่นดินไหวที่เคนเกิดในปีอื่นๆเลยจากสถิติแผ่นดินไหวทั่วโลก แต่ละปีจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง ๖ ริคเตอร์ ประมาณ ๑oo ครั้ง และขนาดความรุนแรง ๗ ริคเตอร์ประมาณ ๒o ครั้ง ตัวเลขนี้แสดงให้เหน็นว่า ทุกๆปี จะมีการเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ แต่ในปี ๒๕๑๙ นี้ เป็นปีที่โชคร้ายที่เผอิญเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นที่บริเวณเมืองและชุมชน ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น

ความเสียหายจากแผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการพังทลายของบ้านเรือนและอาคารที่ไม่แข็งแรงการสั่นสะเทือนของพื้นดินยังทำให่สภาพดินหรือทรายที่อยู่ใต้อาคารมีสภาพคล้ายของเหลว เกิดปรากฏการณ์ที่เรื่อกว่า Liquefaction โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเสณที่มีดินอ่อน เช่น แผ่นดินไหวที่แม็กซิโกซิตี้ ในปี ๒๕๒๘ และแผ่นดินไหวที่โกเบในปี ๒๕๓๘ จะเห็นอาคารบางแห่งเอียงหรือตะแคงล้มลง

นอกจากความเสียหายที่เกิดกับอาคารแล้ว ยังมีภัยอื่นที่ตามมาหลังเกิดแผ่นดินไหว เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แผ่นดินถล่ม บางครั้งอาจก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่าการสั่นไหวโดยตรงเสียอีก ตัวอย่างเช่น แผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโก ปี ๒๔๔๙และแผ่นดินไหวที่โตเกียว ปี ๒๔๖๖ ทำให้เกิดไฟไหม้ติดต่อกันนานถึง ๓ วัน บ้านเรือนกว่า ๗o% ถูกไฟไหม้เนื่องจากขาดอุปกรณ์ในการดับเพลิงและไม่มีน้ำสำหรับดับไฟ เพราะท่อประปาแตกจากการเกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินไหวที่โตเกียวนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง ๑๔o, ooo คน

สำหรับภัยที่เกิดจากน้ำท่วมฉับพลันนั้น มักเกิดเนื่องจากคลื่อใต้น้ำที่เรียกว่า “คลื่นสึนามิ” ซึ่งเคลื่อนเข้าหาใงทำให้เกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งและทำความเสียหายแก่เรือที่จอดอยู่ บางครั้งคลื่นมีความสูงมากสามารถทำให้ผู้ที่อยู่บริเวณชายฝั่งจนน้ำตายได้ แต่คลื่นใต้น้ำนี้สามารถทำนายได้ว่าจะเคลื่อเข้าหาฝั่งเวลาใด หากทราบตำแหน่ง ขนาด และความลึกของแผ่นดินไหว ศูนย์การเตือนภัยคลื่นสึนามินี้ตั้งอยู่ที่ฮาวาย สหรัฐอเมรกา มีหน้าที่เตือนภัยให้กับประเทศต่างๆ ที่อยู่บริเวณชายฝั่งรอบๆ มหาสมุทรแปซิฟิก โดยได้รับความร่วมมือจากประเทศต่างๆ มีเครือข่ายการตรวจแผ่นดินไหว

ความเสี่ยงภัยจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย ประชาชนส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าประเทศไทยตั้งอยู่บริเสณที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวและเชื่อว่าแผ่นดินไหวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนั้นมีขนาดไม่รุนแรงไม่เป็นอันตรายต่ออาคารสิ่งก่อสร้างและชีวิตของประชาชนบางครั้งอาจทำให้ผู้คนตกใจบ้างแต่ก็ไม่เป็นอันตรายซึ่งไม่น่าที่จะต้องมีมาตราใดๆสำหรับป้องกันและรับมือต่อภัยแผ่นดินไหวความเชื่อนี้มาจากความจริงที่ว่าในอดีตที่ผ่านมาประเทศไม่มีประวัติการเกิดแผ่นดินไหวที่ก่อให้เกิดความรุนแรงรวมทั้งการตรวจแผ่นดินไหวยังไม่ครอบคลุมและละเอียดเพียงพออีกทั้งยังไม่มีการศึกษาอย่างจริงจังถึงแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว อย่างไรก็ดี ในช่วงสิบปีที่ผ่านมา การศึกษาวิจัยด้านแผ่นดินไหวในประเทศไทยได้ก้าวหน้าขึ้นมากมีการรวบรวมข้อมูลแผ่นดินไหวอย่างเป็นระบบและมีเครือข่ายสถานีตรวจแผ่นดินไหวมากขึ้น ทำให้สามารถตรวจจับการเกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กและขนาดกลางได้จำนวนมากในภาคเหนือและภาคตะวันตกของประเทศ รวมทั้งนักวิชาการจากหลายสถาบันได้ทำการวิเคราะห์และสร้างแผนที่ความเสี่ยงภัยขึ้นมาหลายชุดผลการวิเคราะห์บ่งชี้ว่า บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันตกมิได้ปลอดภัยจากภัยแผ่นดินไหว แต่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง

หลักฐานชิ้นสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความเสี่ยง คือ แผ่นดินไหวที่ อ.พาน จ.เชียงราย เมื่อ ๑๑ กันยายน ๒๕๓๗ มีขนาดความแรง ๕.๑ ริคเตอร์ จัดได้ว่าเป็นแผ่นดินไหวขนาดกลาง ซึ่งแผ่นดินไหวครั้งนี้เกิดห่างจากตัว อ.พาน ประมาณ ๑๕ กิเมตร ก่อให้เกิดความเสียหายค่อยข้างรุนแรงต่อโครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น ของโรงพยาบาลพาน นอกจากนั้นยังมีอาคารเรียนและอาคารพานิชย์แตกร้าว อาคารเรียนหลายแห่งต้องย้ายนักเรียนหลายห้องออกมาเรียนในเต็นท์ชั่วคราวเพื่อความปลอดภัย โดยโรงเรียนมากกว่า ๒o หลัง และวัดอีกว่า ๓o แห่ง มีความเสียหายเล็กน้อยถึงปานกลาง

แผ่นดินไหวที่ อ.พานนี้ มิได้รุงแรงที่สุดจากที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งข้อมูลในอดีตพบว่าในปี ๒๕๒๖ ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาดความแรง ๕.๓ และ ๕.๙ ริคเตอร์ เมื่อ ๑๕ และ ๒๒ เมษายน ที่ จ.กาญจนบุรี มาแล้วโดยมีศูนย์กลางบริเวณอ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนศรีนครินทร์ ประมาณ ๕๕ กิโลเมตร ระดับความรุนแรงก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ผู้ที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคเหนือของประเทศ รวมถงกรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ ๒oo กิโลเมตร เกิดความเสียหายเล็กน้อยแก่อาคารในกรุงเทพมหานคร

แผ่นดินไหวที่มีอานุภาพรุนแรงถึงขั้นที่สามารถทำลายอาคารบ้านเรือนได้ เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า ๔ครั้ง ในบรเวณภาคเหนือและภาคตะวันตก แต่โชคดีที่แผ่นดินไหวเหล่านี้มีศุนย์กลางอยู่ไกลจากแหล่งชุมชน จึงไม่มีอาคารบ้านเรือนอยู่ในรัศมีการทำลายและการสูญเสียชีวิตของประชาชน ความไม่พร้อมในการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติของเราที่สำคัญ คือ เรายังขาดแคลนการสนับสนุนด้านงบประมาณและบุคลากร เช่ร กรมทรัพยากรธรณ๊ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการสำรวจรอยเลื่อน กรมอุตุนิยมวิทยาขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาความเสี่ยงภัยและจัดทำแผนที่เสี่ยงภัย หรือกรมโยธาธิการขาดผู้เชี่ยวชาญที่สามารถสร้างมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานแรงแผ่นดินไหวให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น

ในขณะนี้มีเพียง “โครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย” ซึ่งเป็นโครงการสำรวจวิจัยขนาดใหญ่มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ ๔ ปี โดยงบประมาณ ๗o ล้านบาท ซึ่งได้รับการเห็ฯชอบจากรัฐบาลให้ดำเนินการได้ระหว่างปี ๒๕๔o-๒๕๔๓ ถือเป็นโครงการนำร่องที่สำคัญต่อการศึกษาวิจัยด้านแผ่นดินไหวในอนาคต และมีความจำเป็นต้องว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ที่มีความรู้และประสบการณ์สูงในหลายสาขาของวิศวกรรมแผ่นดินไหวที่ประเทศไทยยังขาดแคลนอยู่ให้มาช่วยทำการศึกษา สำรวจ และวิจัย โดยกำหนดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่บุคลากรไทยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้สามารถปฏิบัติได้องหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว

การเกิดคลื่นสึนามิเนื่องจากแผ่นดินไหวสำคัญของโลกพ.ศ.๒๔๗๒ ที่แกรนแบงค์ ประเทศแคนาดา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๗.๒ ริคเตอร์ ความเสียหาย ๔oo, ooo เหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๔๘๙ ที่อลาสกา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๗.๘ ริคเตอร์ความเสียหาย ๒๔ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๔๙๕ ที่รัสเซีย จากการเกิดแผ่นดินไหว ๘.๒ ริคเตอร์ ความเสียหาย ๑ ล้านเหรียญสหรัส
พ.ศ.๒๔oo ที่อลาสกา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๘.๓ ริคเตอร์ความเสียหาย ๕ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ. ๒๕oo ที่ประเทศชิลี จากการเกิดแผ่นดินไหว ๙.๖ ริคเตอร์ความเสียหาย ๑ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๕o๗ ที่อลาสกา จากการเกิดแผ่นดินไหว ๘.๔ ริคเตอร์ความเสียหาย ๑o๖ ล้านเหรียญสหรัฐ
พ.ศ.๒๕๔๖ ที่เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย จากการเกิดแผ่นดินไหว ๗.๙ ริคเตอร์ความหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า ๒๘o, ooo คน

เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งสำคัญของประเทศไทย พ.ศ.๑oo๓ แผ่นดินไหวไม่ทราบความรุนแรง ที่นครโยนก (อำเภอพาน)แผ่นดินยุบที่ อ.เมืองพะเยา เมื่อวันเสาร์ แรม ๗ ค่ำ เดือน ๗
๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๘ แผ่นดินไหว ๕.๖ ริคเตอร์ ที่ จ.ตาก
๒๒ เมษายน ๒๕๒๖ แผ่นดินไหว ๕.๙ ริคเตอร์ ที่ จ.กาญจนบุรี
๑๑ กันยายน ๒๕๓๗ แผ่นดินไหว ๕.๑ ที่ จ.เชียงราย




ภัยแล้ง

ภัยแล้ง คือ ภัยที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำในพื้นที่หนึ่งเป็นเวลานาน จนก่อให้เกิดความแห้งแล้งและงส่งผลกระทบต่อชุมชน
สาเหตุของการเกิดภัยแล้ง

โดยธรรมชาติ ได้แก่การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโลก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล
ภัยธรรมชาติ เช่น วาตภัย แผ่นดินไหว

โดยการกระทำของมนุษย์ ได้แก่การทำลายชั้นโอโซน
ผลกระทบของภาวะเรือนกระจก
การพัฒนาด้านอุตสาหกรรม
การตัดไม้ทำลายป่า

สำหรับภัยแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้งและทิ้งช่วง ซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล

ฝนแล้งมีความหมายอย่างไร
ด้านอุตุนิยมวิทยา
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่ฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝน โดยขึ้นอยู่กับสถานที่และฤดูกาล ณ ที่นั้นๆด้วย


ด้านการเกษตร
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะการขาดแคลนน้ำของพืช


ด้านอุทกวิทยา
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะที่ระดับน้ำผิวดิน และใต้ดินลดลง หรือน้ำในแม่น้ำ ลำคลองลดลง


ด้านเศรษฐศาสตร์
ฝนแล้ง หมายถึง สภาวะขาดแคลนน้ำ ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพเศรฐกิจในภูมิภาค


ความรุนแรงของฝนแล้งแบ่งได้ดังนี้ภาวะฝนแล้งอย่างเบา
ภาวะฝนแล้งปานกลาง
ภาวะฝนแล้งอย่างรุนแรง

ฝนทิ้งช่วง หมายถึงช่วงที่มีปริมาณฝนตกไม่ถึงวันละ ๑ มิลลิเมตร ติดต่อกันเกิน ๑๕ วัน ในช่วงฤดูฝนเดือนที่มีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงสูง คือ เดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม

ภัยแล้งในประเทศไทยสามารถเกิดช่วงเวลาใดบ้างภัยแล้งในประเทศไทยจะเกิดใน ๒ ช่วง ได้แก่ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่องถึงฤดูร้อน ซึ่งเริ่มจากครึ่งหลังของเดือนตุลาคมเป็นต้นไป บริเวณประเทศไทยตอนบน (ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก) จะมีปริมาณฝนตกลดลงเป็นลำดับจนกระทั่งเข้าสู่ฤดูฝนในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมของปีถัดไป ซึ่งภัยแล้งลักษณนี้จะเกิดขึ้นประจำทุกปี
ช่วงกลางฤดู ประมาณปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม จะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ภัยแล้งครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างเกือบทั่วประเทศ

ในอดีตภาวะภัยแล้งเกิดขึ้นที่ใดและเมื่อใด
ในช่วงปี ๒๕๑o – ๒๕๓๖ เกิดภัยแล้งในหลายพื้นที่เนื่องจากฝนทิ้งช่วงกลางฤดูฝนเป็นระยะเวลายาวนานกว่าปกติตั้งแต่กรกฎาคนถึงกันยายน บริเวณที่ได้รับผลกระทบเป็นบริเวณกว้างคือ ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ตอนบนและด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และตอนบนของภาคใต้ฝั่งตะวันออก

พ.ศ.๒๕๑o พื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรขึ้นมา รวมถึงตอนบนของประเทศเกือบทั้งหมดในภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งกรุงเทพมหานคร มีปริมาณฝนน้อยมาก ทำให้เกิดภัยแล้งขึ้น

พ.ศ.๒๕๑๑ พื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางของภาคเหนือบริเวณจังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางทั้งภาคตลอดถึงด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และตลอดฝั่งอ่าวไทยของภาคใต้เกือนทั้งหมด ได้รับปริมาณฝนน้อยมาก และส่งผลให้เกิดภัยแล้ง

พ.ศ.๒๕๒o มีรายงานว่าเกิดภัยแล้ง ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคม พื้นที่ที่ประสบภัยเกือบทั่วประเทศ

พ.ศ.๒๕๒๒ เป็นปีที่เกิดฝนแล้งรุนแรง โดยมีรายงานว่าเกิดภัยแล้งในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคมและช่วงปลายเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึงสัปดาห์ที่ ๓ ของเดือนกันยายน เนื่องจากปริมาณฝนตกลงมามีน้อยมาก ทำความเสียหายและมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยเฉพาะด้านเกษตรกรรม และอุตสาหกรรมรวมทั้งการผลิตไฟฟ้า นอกจากนั้นยังกระทบต่อความเป็นอยู่ของปราชาชนในประเทศเพราะขาดน้ำกิน น้ำใช้ บริเวณที่แห้งจัดนั้นมีบริเวณกว้างที่สุดคือ ภาคเหนือต่อภาคกลางทั้งหมด ทางตอนบนและด้านตะวันตก ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน

พ.ศ.๒๕๒๙ มีรายงานความเสียหายจากสำนักเลขาธิการป้องกันภัยแล้งฝ่ายพลเรือน กระทรวงมหาดไทยว่าบริเวณที่ประสบภัยมีถึง ๔๑ จังหวัด ซึ่งภัยแล้งในปีนี้เกิดจากภาวะฝนทิ้งช่วงที่ปรากฏ ชัดเจนเป็นเวลาหลายวันคือช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้อนเดือนมิถุนายน ช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม ช่วงครึ่งหลังของเดือนกันยายนและช่วงครึ่งแรกของเดือนตุลาคม

พ.ศ.๒๕๓o เป็นปีที่ประสบภัยแล้งหนักอีกครั้งหนึ่งหลังจากที่ประสบมาแล้วจากปี ๒๕๒๙ โดยพื้นที่ที่ประสบภัยเป็นบริเวณกว้างในเกือนทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกและทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงตอนกลางฤดูฝน

พ.ศ.๒๕๓๓ มีฝนตกน้อยมากในเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายนทั่วประเทศ พื้นที่ทางการเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ส่วนใหญ่อยู่ในภาคใต้

พ.ศ.๒๕๓๔ เป็นปีที่ปริมาณฝนสะสมน้อยตั้งแต่ต้นฤดูฝน เนื่องจากมีฝนตกในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางน้อยมาก อีกทั้งระดับน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ อยู่ในเกณ์ต่ำกว่าปกติมาก กรมชลประทานไม่สามารถที่จะระบายน้ำลงมาช่วงเกษตรกรที่อยู่ใต้เขื่อนได้ ทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำขึ้น ในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันตก

พ.ศ.๒๕๓๕ มีรายงานว่าเกิดิภัยแล้งขึ้นในช่วงเดือนมีนาคมต่อเนื่องถึงเดือนมิถายนจากภาวะที่มีฝนตกในช่วงฤดูร้อนน้อย และมีภาวะฝนทิ้งช่วงปลายเดือนมิถุนายนต่อเนื่องต้นเดือนกรกฎาคม โดยพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้และภาคเหนือตามลำดับ

พ.ศ.๒๕๓๖ มีรายงานว่าเกิดภัยแล้ง ในช่วงเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคม และในช่วงกลางเดือนมิถุนายนเนื่องจากเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงตั้งแต่ประมาณกลางเดือนมิถุนายนถึงต้นเดือนกรกฎาคม นอกจากนั้นในช่วงปลายฤดูเพาะปลูกฝนหมดเร็วกว่าปกติ โดยพื้นที่ประสบภัยส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ตามลำดับ





ที่มาจากมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ